ความหมายของการศึกษาแบบเปิด (OER : Open Education Resources)
มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้หลากหลาย สรุปได้ดังนี้
wikipedia.org (อ้างถึงใน จิตติมา พิศาภาคและคณะ,2556)ได้ให้ความหมายของการศึกษาแบบเปิดว่า การศึกษาระบบเปิดเป็นกลุ่มคำที่หมายถึงองค์กรการศึกษาที่พยายามที่จะขจัดอุปสรรคที่มีอย่างหลากหลาย สถาบันดัง เช่น ผู้ที่ไม่ได้มีความต้องการที่จะเข้ารับการศึกษาในมหาวิทยาลัย ดังกล่าวรวมถึงมหาวิทยาลัยเปิดใน สหราชอาณาจักรและมหาวิทยาลัยธานาในประเทศแคนาดา โปรแกรมดังกล่าวเป็นเป็นการศึกษาปกติซึ่งศึกษาจากโปรแกรมการเรียนรู้เช่นE-Learningการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่ไร้หน่วยกิต (MOOC)และการเรียนรู้ระบบเปิด แต่บางครั้งก็ไม่จำเป็น
Delia Browne (อ้างถึงใน จิตติมา พิศาภาคและคณะ. 2556 )ได้ให้ความหมายของการศึกษาแบบเปิดว่า
1.1) การศึกษาแนวเปิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แพร่ไปทั่วโลก พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา
1.2) สถาบันและบุคคลที่มีมากขึ้นมีการแบ่งปันการเรียนรู้แบบดิจิตอลและทรัพยากรการเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สิ่งเหล่านี้เป็นที่รู้จักในฐานะทรัพยากรการศึกษาระบบเปิด
1.3) เว็บไซต์ของการศึกษาระบบเปิดประกอบด้วยชุดข้อมูล คือ หลักสูตร สื่อการเรียนรู้แผนการสอน กิจกรรมในชั้นเรียน การบรรยาย การบ้าน งานที่ได้รับมอบหมาย และแบบทดสอบ
จอนห์สโตน (Johnstone . 2005 อ้างถึงใน สุรศักดิ์ ปาเฮ. 2557 : 2) กล่าวไว้ว่าแหล่งความรู้ระบบเปิดมีนัยความหมายที่บ่งบอกถึง
(1) เป็นแหล่งข้อมูลทางการเรียนในรูปแบบของสาระวิชาชุดการเรียน จุดประสงค์ทางการเรียนเครื่องมือช่วยในการสนับสนุนและประเมินผู้เรียน รวมทั้งการสื่อสารทางออนไลน์ในสังคม
(2) เป็นแหล่งเครื่องมือช่วยเหลือครูในการสร้างเป็นสื่อเชิงสร้างสรรค์ สามารถปรับใช้และนาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการฝึกอบรมรวมทั้งการจัดการเรียนการสอน
(3) เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถรับประกันได้ในเชิงคุณภาพของการศึกษาและนำไปสู่การปฏิบัติ
องค์การยูเนสโก (UNESCO. 2002 cited in Butcher 2014 : online อ้างถึงใน สุรศักดิ์ ปาเฮ. 2557 : 2) สรุปถึงความหมายของคลังความรู้ทางการศึกษาแบบเปิดหรือ OER ไว้ว่า เป็นสมรรถนะด้านเทคโนโลยีในการใช้แหล่งข้อมูลทางการศึกษาระบบเปิดเพื่อการให้ ความช่วยเหลือรวมทั้งการปรับใช้ในชุมชนของผู้ ใช้โดยไม่หวังผลหรือไร้ ขีดจากัดในเชิงเศรษฐกิจ เป็นรูปแบบอิสระที่สามารถเปิดกว้างจากการใช้ข้อมูลฐานเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ต หลักการสำคัญของการใช้ข้อมูล จากผู้ใช้ซึ่งหมายถึงครูและนักวิชาการศึกษาในสถาบัน เพื่อการพัฒนารายวิชาที่นาไปใช้กับผู้เรียนโดยตรงจากหลากหลายจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนเช่น จัดทำเป็นวัสดุประกอบการสอน สำหรับใช้เป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าอ้างอิง การจัดทำเป็นสถานการณ์จำลองทางการเรียน การทดลองและการสาธิต เป็นต้น เสมือนกับว่าเป็นการใช้แหล่งข้อมูลสำหรับเป็นสิ่งนาทางของหลักสูตรและการสอนของครู
เกเซอร์ (Geser . 2007 cited in Schaffert and Geser 2014 : online อ้างถึงใน สุรศักดิ์ ปาเฮ. 2557 : 2-3) กล่าวถึงคำว่า Open ในระบบเปิดของแหล่งข้อมูลทางการศึกษาจะมี 4 องค์ประกอบหลักที่สำคัญได้แก่
(1) ระบบเปิดในการเข้าถึงแหล่งการเรียน (Open Access) ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงแหล่งข้อมูลเชิงเนื้อหา รวมทั้งระบบอภิข้อมูล (Metadata) จากแหล่งขนาดใหญ่ที่สืบเสาะหาได้อย่างอิสรเสรี
(2) ระบบเปิดที่ได้รับการอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ของข้อมูลข่าวสาร (Open Licensed) เป็นเสรีภาพที่เปิดกว้างทางลิขสิทธิ์ข้อมูลข่าวสารสาหรับการใช้ และเป็นข้อมูลน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับต่อการนามาปรับใช้ในเชิงบูรณาการผสมผสานตามจุดมุ่งหมายความต้องการของผู้ใช้
(3) ระบบเปิดที่เปิดกว้างในรูปแบบวิธีการใช้ (Open Format) ซึ่งจะถูกออกแบบและผลิตขึ้นมาในการใช้ในระบบเปิดเพื่อให้ง่ายสำหรับผู้ใช้
(4) ระบบเปิดกว้างเกี่ยวกับโปรแกรมการใช้งาน (Open Software) แหล่งการใช้ข้อมูลได้ถูกผลิตเป็นโปรแกรมที่มีความหลากหลายเปิดกว้างและสนองต่อโปรแกรมอื่นๆที่สามารถใช้ร่วมกันได้